
ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหัวใจหยุดเต้นกะทันหันอาจเกิดได้กับทุกคน
ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ เกิดได้ในทุกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน
ที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือแม้แต่ในมหาวิทยาลัย
เพียงเสี้ยววินาทีที่หัวใจหยุดเต้น หรือเต้นผิดจังหวะ
สมองและร่างกายจะขาดออกซิเจนจนนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่ทราบก่อนล่วงหน้า มักมีอาการเป็นลมหมดสติกะทันหัน หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุ
และทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทุกศูนย์การศึกษา
ก็ได้มีจุดติดตั้ง เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED)
ไว้ตามจุดต่างๆ ในมหาวิทยาลัย
#ธรรมศาสตร์สุดสุด จึงนำข้อมูลมาฝากกัน ว่า AED ติดตั้งอยู่ที่จุดไหนบ้าง
เผื่อจะเป็นประโยชน์แก่น้องๆ ในยามคับขันหรือเหตุฉุกเฉินได้ครับ
เผื่อจะเป็นประโยชน์แก่น้องๆ ในยามคับขันหรือเหตุฉุกเฉินได้
1AED ประกอบด้วยอะไรบ้าง

เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ หรือ Automated Electrical Defibrillator: AED
ผู้ที่ช่วยเหลือไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการใช้งาน AED มาก่อน เพราะคนทั่วไปก็สามารถใช้งานได้ง่าย เพียงทำตามคำแนะนำของเครื่อง AED ซึ่งสามารถประเมินสถานการณ์ของผู้ป่วยได้อัตโนมัติและช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจได้อย่างทันท่วงที
ภายในตู้อุปกรณ์ จะประกอบด้วย ตัวเครื่อง AED ชุดอุปกรณ์ช่วยชีวิต แพดสำหรับผู้ป่วยเด็ก แพดติดบนหน้าอก แบตเตอรี่
2AED ใช้ตอนไหนได้บ้าง

ตัวอย่างสถานการณ์ฉุกเฉินที่สามารถใช้ AED ได้ เช่น อุบัติเหตุ จมน้ำ อาหารติดคอ โรคทางหลอดเลือด หัวใจ หรือสมอง ไฟฟ้าช็อต เป็นต้น
3ศูนย์ท่าพระจันทร์

- จุดที่ 1 ศูนย์ประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ประตูฝั่งสนามหลวง)
- จุดที่ 2 อาคารเอนกประสงค์ (ประตูฝั่งท่าพระจันทร์)